ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและผลต่อพฤติกรรมของเด็ก มีลักษณะ ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อและแม่ หมายถึง บทบาทของพ่อแม่ของเด็กในฐานะคู่สมรสจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ที่มีต่อพฤติกรรมของเด็กเป็นดังนี้ (ฉวีวรรณ กินาวงศ์. 2533 : 84)
1.1 ครอบครัวที่เรียกว่า “บ้านแตก” (Broken Home) ซึ่งได้แก่ ครอบครัวที่พ่อแม่หย่าร้างกัน หรือแยกกันอยู่ จะทำให้เด็กมีปัญหาในเรื่องของการปรับตัวและทำให้เด็กมีพฤติกรรมเกเร มีปมด้อย เป็นโรคประสาท
1.2 ครอบครัวที่พ่อแม่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับชีวิตสมรสได้ดี เช่น ทะเลาะกันบ่อย ๆ จะทำให้เด็กมีปัญหาได้
1.3 ครอบครัวที่พ่อแม่ไม่มีเวลาให้แก่เด็ก จะทำให้เด็กรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง ขาดความรักและความเอาใจใส่ อาจส่งผลให้เด็กมีบุคลิกลักษณะไม่ดีเท่าที่ควร
1.4 เด็กกำพร้า เช่น พ่อแม่เสียชีวิต หรือแต่งงานใหม่ จะส่งผลต่อการปรับตัวของเด็กเป็นอย่างมาก
1.5 ครอบครัวที่มีบรรยากาศเป็นกันเอง พ่อแม่รักใคร่กันดี จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโตไปในทางที่ดีและเด็กจะไม่มีปัญหา
2. ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูก หมายถึง ความรู้สึกที่พ่อแม่มีต่อลูกและความรู้สึกที่ลูกมีต่อพ่อแม่ ความสัมพันธ์แบบนี้มักจะขึ้นอยู่กับเจตคติของพ่อแม่ที่มีต่อลูก ทั้งนี้เพราะพ่อแม่มีเจตคติต่อลูกอย่างไร ก็จะปฏิบัติต่อลูกอย่างนั้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 แบบ ดังนี้ (ฉวีวรรณ กินาวงศ์. 2533 : 84-87)
2.1 พ่อแม่รักและคอยช่วยเหลือเอาใจใส่ลูกมากเกินไป ผลที่พ่อแม่ตามใจเด็กมากเกินไป ทำให้เด็กต้องพึ่งพาผู้อื่นตลอดเวลา เด็กไม่กล้าทำอะไรเอง ตัดสินใจอะไรตามลำพังไม่ได้ เมื่อเข้าโรงเรียนจะประสบปัญหายุ่งยากต่าง ๆ
2.2 พ่อแม่เอาใจลูกมากเกินไป พ่อแม่ประเภทนี้จะตามใจลูกและยอมลูกทุกอย่างต่อไปเด็กพวกนี้จะเป็นคนที่ดื้อรั้น ไม่ยอมฟังผู้ใหญ่ และเอาแต่ใจตนเอง
2.3 พ่อแม่ที่ทอดทิ้งเด็ก พ่อแม่ประเภทนี้จะไม่เอาใจใส่เด็ก ไม่คำนึงถึงสวัสดิภาพของเด็ก ผลของการที่พ่อแม่ทิ้งเด็กมากเกินไปจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว ชอบเรียกร้องความสนใจ ไม่เชื่อฟังคำสั่งสอน ชอบทะเลาะกับเพื่อนฝูงอยู่เสมอ หรือเป็นเด็กที่ยอมแพ้ผู้อื่น ขี้อาย ขลาดกลัว และมีอารมณ์ที่ไม่มั่นคง
2.4 พ่อแม่ยอมรับเด็ก พ่อแม่ประเภทนี้จะยอมรับและเห็นความสำคัญของเด็กทำให้เด็กเกิดความอบอุ่น ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และเด็กเป็นไผปอย่างราบรื่น
2.5 พ่อแม่ที่ชอบบังคับลูก พ่อแม่ประเภทนี้จะให้เด็กทำตามทุกอย่าง เด็กจะมีพฤติกรรมทางสังคมดี มีสัมมาคารวะมากกว่าเด็กที่พ่อแม่ปล่อยให้เป็นอิสระ แต่อย่างไรก็ตามเด็กพวกนี้จะเป็นคนขี้อาย มีความรู้สึกไวต่อสิ่งที่มากระทบกระเทือน มีปมด้อย ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น
2.6 พ่อแม่ยอมจำนนต่อลูก พ่อแม่ประเภทนี้จะยอมให้ลูกเป็นใหญ่ มีสิทธิภายในบ้านลูกต้องการอะไรพ่อแม่จะหามาให้ทั้งสิ้น จะทำให้ลูกทำตัวเป็นนายข่มพ่อแม่ ไม่ค่อยเคารพนับถือพ่อแม่เท่าที่ควร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น